ยินดีต้อนรับเข้าสู่เว็บบล็อกของนางสาวฉวีวรรณ อับดุลเลาะ ที่มีเนื้อเกี่ยวกับวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับครู ด้วยความยินดียิ่ง

สวัสดีค่ะผู้เยี่ยมชมทุกท่าน เว็บบล็อกนี้จัดทำขึ้นเพื่อประกอบการเรียนในรายวิชา PC 9203 เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารสำหรับครู ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2556 จัดทำโดยนางสาวฉวีวรรณ อับดุลเลาะ นักศึกษาชั้นปีที่ 4 เอกคณิตศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง ซึ้งมีเนื้อหาเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารสำหรับครูทั้งสิ้น ผู้เยี่ยมชมท่านใดที่สนใจในเนื้อหาสามารถเข้ามาศึกษารายละเอียดและเยี่ยมชมได้ด้วยความยินดีค่ะ

วันเสาร์ที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2556

คำอธิบายรายวิชา
ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เช่น ไมโครซอฟท์คอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ ระบบการสื่อสารข้อมูล ระบบเน็ตเวิร์ค ระบบซอฟท์แวร์ การจัดการทรัพยากรสารสนเทศ เครื่องมือการเข้าถึงสารสนเทศ ทักษะการเข้าถึงสารสนเทศ ฐานข้อมูลสารสนเทศ ห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์และการอ้างอิง ฝึกปฏิบัติการ สามารถใช้คอมพิวเตอร์ขั้นพื้นฐานและเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารได้อย่างเหมาะสมได้



วัตถุประสงค์ในรายวิชา
เมื่อผู้เรียนศึกษาเนื้อหาบทเรียนจบแล้วตามหลักสูตรแล้วจะมีพฤติกรรมหรือความสามารถดังนี้
1. อธิบายความหมาย ความสำคัญ และองค์ประกอบของเทคโนโลยีสารสนเทศได้
2. อธิบายความสัมพันธ์ของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารได้

3. ยกตัวอย่างเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในชีวิตจริงได้
4. อธิบายความหมายและความสำคัญของวิธีระบบได้

5. อธิบายความสัมพันธ์ของวิธีระบบกับเทคโนโลยีสารสนเทศได้
6. บอกความหมายและองค์ประสกอบสำคัญๆของคอมพิวเตอร์ได้

7. อธิบายหน้าที่ขององค์ประกอบของคอมพิวเตอร์ได้
8. บอกประเภทและคุณสมบัติของซอฟท์แวร์แต่ละประเภทได้

9. บอกความหมายและความสำคัญของอินเตอร์เน็ตได้
10. บอกความสัมพันธ์ของเครือขายคอมพิวเตอร์และเครือข่ายอินเตอร์เน็ตได้

11. อธิบายแหล่งเรียนรู้ต่าง ๆ ที่สามารถเชื่อมโยงเป็นเครือข่ายได้
12. อธิบายวิธีประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศกับการศึกษาได้

13. ยกตัวอย่างโปรแกรมต่าง ๆ ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการเรียนการสอนได้
14. สร้างสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนการสอนได้

15. นำเสนอสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศทั้งที่เป็นสื่อทั่วไปและสื่อระบบเครือข่ายได้



เนื้อหาบทเรียน
หน่วยการเรียนที่ 1    ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ
หน่วยการเรียนที่ 2    ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
หน่วยการเรียนที่ 3    คอมพิวเตอร์และระบบคอมพิวเตอร์
หน่วยการเรียนที่ 4    ซอฟต์แวร์
หน่วยการเรียนที่ 5    ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์
หน่วยการเรียนที่ 6    อินเตอร์เน็ต
หน่วยการเรียนที่ 7    การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศกับการเรียนการสอน
หน่วยการเรียนที่ 8    การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการนำเสนอผลงาน




รูปแบบของกระบวนการเรียนการสอน
1. วิธีสอน :  เป็นการเรียนการสอนแบบผสมผสาน (Blended Learning)
2. เนื้อหาบทเรียน :  เนื้อหาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารสำหรับครู
            3. เครื่องมือกำกับการเรียนรู้ : ความซื่อสัตย์(integrity)



กิจกรรมการเรียนการสอน
1. การบรรยายประกอบสื่อในชั้นเรียนปกติ (traditional classroom)
2. การศึกษาค้นคว้าด้วยสื่อออนไลน์หรือเว็บบล็อก
3. การสรุปและนำเสนอในชั้นเรียนด้วยสื่อ ICT
4. การอภิปรายแสดงความคิดเห็น
5. การสรุปเป็นรายงาน
6. การทดสอบเพื่อวัดและประเมินผล






การบูรณาการกับความพอเพียง
เศรษฐกิจพอเพียง สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติตนได้ในทุกระดับ โดยเน้นการปฏิบัติตนบนทางสายกลาง และการพัฒนาอย่างเป็นขั้นตอน
ความพอเพียงที่ประกอบกันขึ้นตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง จะต้องประกอบด้วย 3 คุณลักษณะพร้อมๆ กัน ดังนี้
1. ความพอประมาณ  หมายถึง ความเหมาะสมของการดำเนินงาน ทั้งในแง่ของขนาดที่ไม่เล็กเกินไปหรือไม่ใหญ่จนเกินตัว แต่เป็นไปตามอัตภาพและสภาพแวดล้อม และในแง่ของจังหวะเวลาที่ไม่เร็วเกินไปหรือไม่ช้าจนเกินไป แต่รู้จักทำเป็นขั้นตอนเพื่อให้การดำเนินงานมีความก้าวหน้า โดยที่ไม่ทำให้ตนเองและผู้อื่นเดือดร้อน
2. ความมีเหตุผล  หมายถึง การพิจารณาที่จะดำเนินงานใดๆ ด้วยความถี่ถ้วนรอบคอบ ไม่ย่อท้อ ไร้อคติ คำนึงถึงเหตุและปัจจัยแวดล้อมทั้งหมด  เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างถูกต้องดีงาม เกิดประสิทธิผล เกิดประโยชน์และความสุข โดยปราศจากการเบียดเบียนตนเองและผู้อื่น

3. การมีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี หมายถึง การจัดองค์ประกอบของการดำเนินงาน ให้มีสภาพพร้อมรองรับต่อผลกระทบใดๆ อันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทั้งภายนอกและภายในได้เป็นอย่างดี




การบูรณาการกับความซื่อสัตย์

            ความซื่อสัตย์สุจริต คือ การยึดมั่นในความสัตย์จริงและในสิ่งที่ถูกต้องดีงามมีความซื่อตรงและมีเจตนาที่บริสุทธิ์ปฏิบัติต่อตนเองและผู้อื่นโดยชอบไม่คดโกง

แนวคิด
            การดําเนินชีวิตในสังคมนั้นความซื่อสัตย์สุจริตเป็นเรื่องที่สําคัญและจําเป็นไม่ว่าจะซื่อสัตย์ต่อตนเองหรือผู้อื่น ดังนั้น การที่เราจะมีความซื่อสัตย์สุจริตนั้นเราจะต้องปลูกฝังและสร้างจิตสํานึกเกี่ยวกับความซื่อสัตย์สุจริตอย่างถูกต้องและให้เห็นโทษของการไม่ซื่อสัตย์สุจริตว่าจะส่งผลต่อตนเองและสังคมอย่างไรบ้าง

ข้อคิด  
ซึ่อกินไม่หมด  คดกินไม่นาน
 “ความซื่อสัตย์เป็นคุณธรรมของคนดี
อย่าทำให้ผู้อื่นหมดความไว้วางใจในตัวเรา
สายตาที่สื่อถึงความจริงใจ  คือพลังแห่งมิตรภาพ” 


ประโยชน์ของการมีความซื่อสัตย์ 
1. ทำให้มีความเจริญก้าวหน้าและประสบความสำเร็จในหน้าที่การงาน
2. เป็นคนเปิดเผย จริงใจต่อตนเองและผู้อื่น
3. เสริมสร้างให้ตัวเองเป็นคนกล้าหาญ กล้าทำในสิ่งที่ถูกต้อง
4. เป็นที่เชื่อถือ และไว้ใจของคนอื่น 
5. ชีวิตมีความสุข

โทษของการไม่มีความซื่อสัตย์  
1. ชีวิตและหน้าที่การงานไม่ประสบความสำเร็จ
2. ถูกมองเป็นคนขี้โกง ทุจริต ไม่มีระเบียบวินัยต่อตนเองและผู้อื่น
3. ไม่เป็นที่เชื่อถือของคนอื่น
4. อาจหันไปประกอบอาชีพทุจริต ทำผิดกฎหมาย




เรื่องสั้นหรือบทความ  ผลของความซื่อสัตย์
           ข้าพเจ้ามีความจำเป็นต้องใช้รองเท้าหุ้มส้น ผูก สีน้ำตาลเพื่อใช้กับเครื่องแบบตรวจการ  ได้เข้าไปดูที่ร้านรองเท้ามีชื่อแห่งหนึ่ง  พบรองเท้าสีน้ำตาล ผูก แต่เป็นแบบสปอร์ต จึงถามคนขายว่า รองเท้าแบบนี้ใช้กับเครื่องแบบตรวจการได้หรือไม่ เขาบอกว่าใช้ได้ ข้าพเจ้าไม่ทันได้อ่านระเบียบชัดเจนก็นึกว่าคงจะใช้ได้ แต่ใจหนึ่งคิดว่าไปอ่านระเบียบเสียให้แน่นอนก่อน จะได้ไม่เสียเวลาและเงินเปล่า จากนั้นจึงได้ไปดูที่ร้านรองเท้าอีกแห่งหนึ่ง ก็พบรองเท้าสีน้ำตาลแบบเดียวกันนั้นเข้าอีก  แต่คนขายพูดคนละอย่างว่า  “รองเท้าสีน้ำตามแบบสปอร์ตนี้ ถ้าจะว่ากันตามระเบียบจริง ๆ แล้ว ก็ใช้แต่งกับเครื่องแบบตรวจการไม่ได้ ต้องใช้แบบเรียบ ๆ รองเท้าแบบตรวจการเคยมีจำหน่ายทีนี่ แต่บัดนี้หมดเสียแล้ว”  ข้าพเจ้านึกชมคนขายนั้น  ที่พูดตามความจริง ก็เลยซื้อรองเท้าคู่นั้น ไม่ใช่เพื่อจะเอามาใช้กับเครื่องแบบตรวจการ แต่ซื้อเพื่อเป็นรางวัลความสุจริตของผู้ชายคนนั้น มีคนเป็นอันมาก ที่ยอมพูดเท็จเพื่อหากำไรเพียงเล็กน้อย แต่ต้องสูญเสียกำไรมาก ๆ ที่จะได้ภายหลัง  คนขายของที่หลอกลวงผู้ซื้อมักตั้งร้านอยู่ไม่รอด หรือไปรอดก็หาทางเจริญไม่ได้   การที่คนยอมพูดเท็จนั้น  ก็โดยเหตุสองอย่างคือ  โลภหนึ่ง เห็นแก่ตนเองหนึ่ง  ความโลภและความเห็นแก่ตนเอง   ทำให้คนนั้นขาดความสัตย์สุจริต   ถ้าอยู่กับคณะก็ทำให้คณะต้องเสียชื่อเสียง อยู่ในสังคมก็ทำให้สังคมต้องเดือดร้อน ถ้ามีคนอย่างนี้ในชาติมากๆ ก็ทำให้ชาติวุ่นวาย แตกแยก หาสามัคคีมิได้   เบนจามิน  แฟรงกลิน ปราชญ์คนสำคัญของอเมริกาให้คำเตือนใจ ที่มีชื่อเสียงมากไว้คำหนึ่งว่า  “ ความซื่อสัตย์สุจริตเป็นวิธีการเยี่ยมยอด

            ท่านผู้อ่านควรยึดเป็นทางปฏิบัติในการดำรงชีวิต จะเห็นว่าได้ผลเกินคาด


พฤติกรรมที่ปรารถนาให้ผู้เรียนปฏิบัติ
1. ฝึกที่จะเป็นคนซื่อตรงต่อตนเอง และผู้อื่นในทุก ๆ เรื่อง
2. กล้าที่จะทำในสิ่งที่ถูกต้อง เพื่อยืนยันถึงความซื่อสัตย์ของเราและเรียกร้องให้คนรอบข้างเราซื่อสัตย์ด้วย



http://www.kamsondeedee.com/main/index.php/2009-07-31-07-07-02/892-23